
การเลือกเตียงผู้ป่วยให้เหมาะสม เตียงผู้ป่วยส่วนใหญ่ใช้ในโรงพยาบาลเป็นหลัก แต่ปัจจุบันเมื่อผู้ป่วยกลับมาพักรักษาตัวที่บ้านก็สามารถเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยมาใช้ที่บ้านเพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันให้กับผู้ป่วยเองหรือเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ดูแล เตียงผู้ป่วยหรือเตียงผู้สูงอายุมีหลายรูปแบบ มีทั้งแบบไฟฟ้าและแบบมือหมุน แต่ละรุ่นก็มีลักษณะข้อดีข้อเสีย มีความเหมาะสมกับแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป เตียงผู้ป่วยถูกออกแบบให้มีความปลอดภัยกว่าเตียงนอนปกติทั่วไป สามารถปรับยกศรีษะ ปรับงอเข่า ฟังก์ชั่นที่จำเป็นคือการปรับความสูง-ต่ำของเตียงเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแลให้ง่ายต่อการปฏิบัติงานกับผู้ป่วยจะได้ไม่ต้องก้ม ไม่ต้องปวดหลัง เตียงผู้ป่วยที่สามารถปรับได้ต่ำพิเศษจะช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุลุกนั่งปลอดภัย ช่วยลดอุบัติเหตุจากการตกเตียง ลดการเกิดอุบัติเหตุกับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุในกรณีต่าง ๆ
ประเภทของเตียงผู้ป่วย แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. เตียงผู้ป่วยมือหมุน (Manual Hospital Bed) เป็นชนิดที่ปรับด้วยมือ
2. เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า (Electric Hospital Bed) เป็นชนิดที่ปรับด้วยรีโมทไฟฟ้า ซึ่งจะมีราคาแพงกว่าแต่สะดวกในการใช้งานมากกว่าแบบมือหมุน
3. เตียงผู้ป่วยรุ่นไฮบริด (Hybrid Hospital Bed) สามารถใช้ได้ทั้งระบบไฟฟ้าและมีมือหมุนในตัว
การเลือกฟูกที่นอน เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญต่อสุขภาพและความสุข ต้องเลือกที่นอนอย่างไรให้เหมาะกับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ประเภทของที่นอนที่นิยมใช้กันในปัจจุบันสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ได้แก่ ที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ มี 2 ประเภท คือ ที่นอนลมแบบลอน และ ที่นอนลมแบบรังผึ้ง จะช่วยป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยที่นอนติดเตียงเป็นเวลานาน ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ หรือผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวได้น้อยลง นอกจากนี้ยังมีที่นอนชนิดอื่นอีก เช่น ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ ที่นอนเพื่อสุขภาพ ที่นอนยางพารา โดยแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสีย และราคาแตกต่างกันออกไป เช่น ที่นอนยางพารา เป็นที่นิยมมากในประเทศไทย เพราะมีคุณสมบัติยืดหยุ่นสูง รองรับสรีระของผู้สูงอายุได้ดีเยี่ยม ทำให้นอนสบาย มีความเหนี่ยวแน่นไม่ยุบตัวง่าย ทนต่อแรงกดทับ ดูแลง่าย ใช้งานได้ยาวนานกว่า ไม่กักเก็บฝุ่นและไม่สะสมความชื้น
