top of page
S__10215517.jpg

เครื่องผลิตออกซิเจน (Oxygen Concentrator) 

เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อใช้บำบัดผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องออกซิเจน ผู้ป่วยที่ต้องการได้รับออกซิเจนเสริมอย่างต่อเนื่อง
ผู้ป่วยที่เมื่อวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนจากปลายนิ้ว (SpO2) ได้ค่าน้อยกว่า 90% จำเป็นจะต้องได้รับการให้ออกซิเจนเสริม ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด โรคมะเร็งปอด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease: COPD) โรคถุงลมโป่งพอง (Pulmonary emphysema) และโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) ไข้หวัด โควิด-19 เป็นต้น

 

 

เครื่องผลิตออกซิเจน มี 2 ประเภท ได้แก่

 

1. เครื่องผลิตออกซิเจนสำหรับใช้ในบ้าน (Oxygen Concentrator)

แบ่งออกเป็น เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด 3 ลิตร 5 ลิตร 6 ลิตร 8 ลิตร และ 10 ลิตร จำเป็นต้องเลือกเครื่องผลิตออกซิเจนให้มีความเหมาะสมในการใช้งาน ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ว่าผู้ป่วยควรจะต้องให้ออกซิเจนในอัตรากี่ลิตร/นาที เพื่อพิจารณาว่าควรจะเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนขนาดใด นอกจากนี้ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องพ่นยาด้วยหรือไม่ ถ้าหากผู้ป่วยต้องพ่นยาในระหว่างทำการรักษาก็จำเป็นต้องเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนที่มีฟังก์ชั่นพ่นยาในตัว

เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด 3 ลิตร หมายถึง เครื่องผลิตออกซิเจนที่เปิดได้สูงสุด 3 ลิตร หรือมีอัตราการไหลของปริมาณออกซิเจนสูงสุดที่ 3 ลิตร/นาที ส่วนใหญ่จะใช้กับอุปกรณ์ nasal cannula (สายเสียบจมูก)

 

เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด 5 ลิตร หมายถึง เครื่องผลิตออกซิเจนที่เปิดได้สูงสุด 5 ลิตร หรือมีอัตราการไหลของปริมาณออกซิเจนสูงสุดที่ 5 ลิตร/นาที ส่วนใหญ่จะใช้กับอุปกรณ์ nasal cannula (สายเสียบจมูก)

 

เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด 6 ลิตร หมายถึง เครื่องผลิตออกซิเจนที่เปิดได้สูงสุด 6 ลิตร หรือมีอัตราการไหลของปริมาณออกซิเจนสูงสุดที่ 6 ลิตร/นาที สามารถใช้กับอุปกรณ์ nasal cannula (สายเสียบจมูก) หรืออุปกรณ์หน้ากากออกซิเจนชนิดต่างๆ Simple face mask, Partial-rebreathing mask หรือ Non-rebreathing mask

 

เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด 8 ลิตร หมายถึง เครื่องผลิตออกซิเจนที่เปิดได้สูงสุด 8 ลิตร หรือมีอัตราการไหลของปริมาณออกซิเจนสูงสุดที่ 8 ลิตร/นาที ส่วนใหญ่จะใช้กับอุปกรณ์หน้ากากออกซิเจนชนิดต่างๆ Simple face mask, Partial-rebreathing mask หรือ Non-rebreathing mask

 

เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด 10 ลิตร หมายถึง เครื่องผลิตออกซิเจนที่เปิดได้สูงสุด 10 ลิตร หรือมีอัตราการไหลของปริมาณออกซิเจนสูงสุดที่ 10 ลิตร/นาที ส่วนใหญ่จะใช้กับอุปกรณ์หน้ากากออกซิเจนชนิดต่างๆ Simple face mask, Partial-rebreathing mask หรือ Non-rebreathing mask

 

เครื่องผลิตออกซิเจน 8-10 ลิตร ชนิดแรงดันสูงพิเศษ 20 PSI เครื่องผลิตออกซิเจนชนิดนี้จะใช้งานได้ครอบคลุมกับทุกๆอุปกรณ์สามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยเจาะคอต่อเข้ากับอุปกรณ์ท่องวงช้าง (Corrugated Tube) และบางครั้งจะใช้ร่วมกับกระปุกแบบปรับระดับ% ให้ความชื้นเพื่อช่วยในการละลายเสมหะที่ข้นเหนียวของผู้ป่วยเจาะคอ ข้อควรระวังในการเลือกเครื่องผลิตออกซิเจนสำหรับผู้ป่วยเจาะคอที่ใช้อุปกรณ์ท่องวงช้างก็คือ ถ้าใช้เครื่องผลิตออกซิเจน 8-10 ลิตรแบบแรงดันธรรมดาจะทำให้ระดับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อประสิทธิภาพการรักษา 
 

 

2. เครื่องผลิตออกซิเจนพกพา (Portable Oxygen Concentrator) 
เป็นเครื่องผลิตออกซิเจนขนาดเล็กที่สามารถถือสะพายพกพาไปในที่ต่างๆได้อย่างอิสระ บางรุ่นมีใบอนุญาตให้สามารถนำขึ้นเครื่องบินได้และบางรุ่นสามารถพ่วงต่อกับไฟรถยนต์ได้


 

ข้อคำนึงในการเลือกเครื่องผลิตออกซิเจน
 

1. เครื่องผลิตออกซิเจนเกรดทางการแพทย์จะสามารถผลิตออกซิเจนที่มีความบริสุทธิ์ มากกว่า 90% (-3%) ที่ระดับการจ่ายออกซิเจนสูงสุด เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการรักษาผู้ป่วย

2. อายุการใช้งานที่ยาวนาน เครื่องผลิตออกซิเจนแต่ละรุ่นจะมีอายุการใช้งานที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ต่ำสุด 10,000 ชั่วโมง 12,000 ชั่วโมง 20,000 ชั่วโมง จนไปถึง 30,000 ชั่วโมง อายุการใช้งานของเครื่องจะขึ้นอยู่กับคุณภาพและปริมาณของสารซีโอไลท์ (zeolite) ซึ่งจะถูกบรรจุอยู่ในกระบอกด้านหลังของตัวเครื่อง ทำหน้าที่ในการการดูดซับไนโตรเจนออกจากอากาศเพื่อผลิตออกซิเจนบริสุทธิ์ออกมา หากเครื่องผลิตออกซิเจนหมดอายุการใช้งานจะมีสัญญาณไฟเตือนให้เปลี่ยนกระบอกสารซีโอไลท์ (zeolite)

3. ชนิดของไส้กรองอากาศ ปัจจัยที่สำคัญในการกำหนดคุณภาพและราคาของเครื่องผลิตออกซิเจนก็คือ "ไส้กรองอากาศ" ซึ่งในปัจจุบันจะมีหลายเกรดเรียงตามคุณภาพได้ดังนี้ ไส้กรองแผ่นกระดาษธรรมดา ไส้กรองชนิดฟองน้ำละเอียด ไส้กรองชนิด HEPA Filter ที่เป็นเกรดคุณภาพสูงสุด กำหนดเป็นมาตรฐานของยุโรปและอเมริกา ไส้กรองชนิด HEPA Filter จะมีราคาแพงแต่ให้ความปลอดภัยกว่าไส้กรองอากาศชนิดอื่นๆ สามารถกรองเชื้อโรค ไวรัส แบคทีเรียและฝุ่น PM 2.5

4. ต้องมีตัวตรวจสอบความเข้มข้นของออกซิเจน (Oxygen Monitor) เครื่องผลิตออกซิเจนที่ดีต้องสามารถผลิตออกซิเจนที่มีความเข้มข้นที่ได้มาตรฐานตลอดเวลา มากกว่า 90% (-3%) ดังนั้นเครื่องต้องมีตัวตรวจสอบ%ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ปล่อยออกมา และมีสัญญาณเตือนเมื่อความเข้มข้นออกซิเจนลดลงต่ำกว่าค่ามาตรฐาน

5. มีอัตราการกินไฟต่ำ โดยให้ดูจากอัตราการกินไฟ (วัตต์ต่อชั่วโมง) ให้เลือกเครื่องที่มีอัตราการกินไฟต่ำ จะได้ประหยัดค่าไฟฟ้า

6. ต้องสามารถเปิดใช้งานต่อเนื่องได้ยาวนาน

7. เครื่องผลิตออกซิเจนเสียงเบา จำเป็นที่จะต้องเลือกเครื่องผลิตออกซิเจนรุ่นที่เสียงเบา เสียงเงียบ โดยเฉพาะหากต้องเปิดในช่วงเวลากลางคืนก็ควรเลือกเครื่องผลิตออกซิเจนรุ่นที่เสียงเบาที่สุดจะได้ไม่รบกวนผู้ป่วยเวลานอนหลับ โดยดูได้จากค่าระดับเสียงซึ่งมีหน่วยวัดเป็นเดซิเบล

ติดต่อสอบถาม

Line-ICON.png
Phone.png

093-075-7673

40506.jpg
    เตียงไฟฟ้า ลายไม้ Invacare Medley Ergo
    My project (6).png