top of page
ค้นหา

ที่นอนโฟม VS ที่นอนลม เลือกแบบไหนดี?

อัปเดตเมื่อ 2 มิ.ย. 2565



แผลกดทับนับเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่ง ที่มักพบในผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดเรื่องการเคลื่อนไหว หากไม่รีบดูแลรักษาอาจเกิดการติดเชื้อจากแผลกดทับได้ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต


วิธีหนึ่งในการดูแลและป้องกัน

การเกิดแผลกดทับก็คือการลดแรงกดทับโดยการพลิกตัวผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุทุก 2 ชั่วโมงหรือในปัจจุบันก็มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการดูแลผู้ป่วย หรือ ผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้นเช่น ที่นอนป้องกันแผลกดทับเป็นต้น


แล้วแผลกดทับเกิดจากอะไร ที่นอนป้องกันช่วยได้อย่างไร

แผลกดทับ เกิดจากการที่ผิวหนังบริเวณนั้นถูกกดทับลงไปเป็นเวลานาน ทำให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลายเนื่องจากขาดออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงส่งผลให้ผิวหนังส่วนนั้นเสียหายและเกิดเป็นแผลขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายจุดโดยเฉพาะบริเวณที่มีการลงน้ำหนักมากๆ เช่น สะโพก ท้ายทอย กระดูกก้นกบ สะบัก ศอก เป็นต้น ที่นอนป้องกันแผลกดทับเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์เสริมในการช่วยกระจายน้ำหนัก ลดแรงเสียดสี ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลกดทับได้


แล้วที่นอนป้องกันแผลกดทับมีกี่แบบ แล้วควรเลือกแบบไหนดี?


ปัจจุบันที่ขายตามท้องตลาดจะแบ่งที่นอนป้องกันแผลกดทับได้เป็น 2 แบบคือ

1.เตียงลมหรือที่นอนลม อุปกรณ์ที่ช่วยกระจายแรงกดทับที่นอนที่ทำจากพลาสติก ทำงานโดยระบบปั้มลมสลับยุบพองซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

1.1ที่นอนลมแบบลอน ใช้หลักการสลับความดันแต่ละลอนทุกๆ 12 นาที เพื่อกระจายแรงกดทับ

1.2ที่นอนลมแบบรังผึ้ง สลับความดันลมโดยการยุบฟองของที่นอนในแต่ละจุดทุกๆ 8-9.5 นาที สามารถปรับความนิ่งของที่นอนได้


ความแตกต่างของที่นอนลมแบบลอนและที่นอนลมแบบรังผึ้งคือ


ที่นอนลมแบบลอนเมือที่นอนชำรุดหรือรั่วสามารถเปลี่ยนลอนได้ทำให้การซ่อมแซมบำรุงรักษาได้ง่ายและสะดวก ส่วนนอนลมแบบรังผึ้งการดูแลรักษาและการซ่อมแซมได้ยากกว่าทำได้เพียงการปะ แต่ราคาของที่นอนลมแบบรังผึ้งก็ถูกกว่าที่นอนลมแบบลอนเช่นเดียวกัน



2.ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ


ที่นอนที่ทำจากเนื้อโฟม Polyurethane Foam เป็นอีกหนึ่งนวัฒกรรมใหม่ที่ช่วยกระจายน้ำหนัก ทำให้ลดแรงกดทับได้ดี ป้องกันการเกิดแผลกดทับ งั้นเรามาดูเหตุผลต่างๆกันดีกว่าว่าทำไมผู้ใช้งานถึงควรเลือกที่นอนโฟม?


1.กระจายแรงกดทับได้ดีกว่า นอนสบายกว่า

2.ป้องกันของเหลวซึมลงบนตัวที่นอนได้ในระดับหนึ่ง

3.ระบายความร้อนและความชื้นได้อย่างดี เนื่องจากโครงสร้างภายในของโฟมมีช่องว่างอยู่ สามารถระบายความร้อนออกได้

4.ใช้งานสะดวก ทำความสะอาดง่าย ไม่มีร่องให้ต้องเก็บรายละเอียด

5.ที่นอนโฟมไม่ยวบยาบทำให้สามารถ ทรงตัวไม่ว่าจะเป็น ลุกนั่ง ตะแคง พลิกตัว ทำให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นคง

6.ไม่ต้องกังวลเรื่องไฟดับหรือเครื่องปั้มลมเสียเนื่องจากที่นอนโฟมไม่ต้องใช้ไฟฟ้า

7.ให้คุณภาพการนอนที่ดีขึ้น ไม่มีเสียงการรบกวนขณะนอนหรือเสียงการเคลื่อนไหวของที่นอน


สรุป

· ที่นอนลมแบบลอน ผู้ป่วยระดับ 1-4 ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไม่รู้สึกตัว

· ที่นอนลมแบบรังผึ้ง ผู้ป่วยระดับ 1-4 หรือผู้ป่วยที่เป็นแผลกดทับแล้ว

· ที่นอนโฟม ผู้ป่วยระดับ 1-3 ที่ยังรู้สึกตัวและช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง

ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความคุ้มค่า ลักษณะการใช้งาน และ งบประมาณของผู้ซื้อ



ดู 0 ครั้ง0 ความคิดเห็น
เตียงไฟฟ้า ลายไม้ Invacare Medley Ergo
My project (6).png
bottom of page