
เตียงผู้ป่วยหรือเตียงผู้สูงอายุ โดยปกติแล้วมักจะอยู่เฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ในปัจจุบันนั้นเตียงได้ถูกพัฒนาให้สามารถใช้งานในที่พักอาศัยได้เช่นกัน เพื่อความสะดวกในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ในกรณีที่ผู้ป่วยอาการดีขึ้นแล้ว พอที่จะสามารถช่วยเหลือตนเองได้ และไม่มีความจำเป็นต้องนอนพักที่โรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเตียงผู้ป่วยจึงได้ถูกพัฒนาให้สามารถใช้งานในที่พักอาศัยได้
ผู้ป่วยที่ต้องการเตียงสำหรับการดูแลที่เป็นพิเศษ มักจะเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้เลย หรือ พอที่จะสามารถดูแลตนเองได้ แต่ยังต้องการผู้ช่วยดูแลอยู่ เพื่อลดภาระของผู้ดูแล และ ความปลอดภัยของผู้ป่วย เตียงผู้ป่วยจึงจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากเตียงผู้ป่วยจะมีฟังก์ชั่นที่แตกต่างออกไปจากเตียงนอนธรรมดาทั่วๆไป เช่น ฟังก์ชั่นการยกสูง-ต่ำ ฟังก์ชั่นการพิงหลัง และ ชันเข่า เพื่อให้สะดวกแก่การที่ผู้ดูแลจะคอยทำความสะอาดและเช็ดตัวให้ผู้ป่วยได้ และ ผู้ป่วยจะสามารถปรับเตียงเพื่อให้อยู่ในท่านั่งและรับประทานอาหารได้

เตียงผู้ป่วย VS เตียงธรรมดา
เตียงผู้ป่วย เป็นเตียงที่ออกมาพิเศษมากกว่าเตียงปกติทั่วไป ทั้งในด้านของ ฟังก์ชั่นการใช้งาน ความปลอดภัย และ คุณสมบัติทางกายภาพ เช่น ความสูง-ต่ำ เป็นต้น ที่จะออกแบบมาสำหรับใช้งานสำหรับดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะ เตียงผู้ป่วยจะสามารถทำงานได้หลากหลายมากกว่าเตียงธรรมดา ที่จะทำให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และ ผู้ดูแลผู้ป่วยก็สามารถดูแลผู้ป่วยได้ง่ายมากยิ่งขึ้นเช่นกัน เนื่องจากบางกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เตียงผู้ป่วยจึงมีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากเตียงผู้ป่วยนั้นจะมีความปลอดภัยสูงกว่า ทั้งในด้านของวัสดุและฟังก์ชั่นฉุกเฉิน ในขณะเดียวกรณีที่ผู้ป่วยยังสามารถที่จะพอช่วยเหลือตัวเองได้ การที่มีฟังก์ชั่นในการปรับองศาต่างๆของเตียงที่ใช้งานได้ง่ายนั้น จะทำให้มีผลต่อทางด้านจิตใจของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน เนื่องจาก ผู้ป่วยจะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อาจจะไม่จำเป็นต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีและตระหนักถึงคุณค่าในตัวเองมากขึ้นคามไปด้วย
เตียงผู้ป่วยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
เตียงผู้ป่วยแบบมือหมุน (Manual Hospital Bed) เป็นเตียงที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า สามารถปรับระดับต่างๆได้ด้วยการอาศัยแรงในการหมุนเพลาเพื่อปรับระดับ
ข้อดี
ราคาย่อมเยา
ใช้งานได้ตลอดเวลา แม้กรณีไฟฟ้าดับ หรือ ไม่มีไฟฟ้า
เนื่องจากไม่มีมอเตอร์ในการทำงาน ทำให้น้ำหนักค่อนข้างเบากว่า
ข้อเสีย
ต้องก้มและอาศัยแรงในการหมุนเพลาเพื่อปรับระดับองศาของเตียง
ผู้ป่วยจะไม่สามารถปรับระดับได้ด้วยตนเอง
เตียงผู้ป่วยแบบไฟฟ้า (Electric Hospital Bed) เป็นเตียงที่สามารถปรับระดับได้ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า
ข้อดี
มีฟังก์ชั่นหลากหลายให้เลือกใช้งานให้เหมาะสมกับผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยที่ต้องการการกายภาพบำบัด เป็นต้น
ลดภาระงานของผู้ดูแลผู้ป่วย
ผู้ป่วยสามารถปรับระดับองศาของเตียงได้เองผ่านรีโมทคอนโทรล
มีฟังก์ชั่นความปลอดภัยกรณีที่เกิดเหตูฉุกเฉินเตียงจะปรับระดับอัตโนมัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
มีแบตเตอรี่ในตัวเอง สามารถใช้งานได้ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ หรือ ไม่มีไฟฟ้า
ข้อเสีย
ราคาสูงกว่าเตียงแบบมือหมุน (Manual Hospital Bed)
ต้องอาศัยระบบไฟฟ้าในการทำงาน หากไม่ไฟฟ้าเป็นระยะเวลานานถึงแม้จะมีแบตเตอรี่ในตัว แต่ก็ต้องการการชาร์จไฟ
ระบบการทำงานค่อนข้างซับซ้อนมากกว่าทำให้ค่าบำรุงรักษาอาจจะสูงกว่าเตียงแบบมือหมุน