เครื่องผลิตออกซิเจน (Oxygen Concentrator)
เครื่องผลิตออกซิเจน หรือ Oxygen Concentrator เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับกรหายใจ หรือ ผู้ที่ต้องการออกซิเจน เนื่องจากมีปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า ประหยัดกว่า และ สะดวกมากขึ้นกว่าการใช้ถังออกซิเจน ปัจจุบันเครื่องผลิตออกซิเจนถูกพัฒนาจนมีประสิทธิภาพ และ มีเสถียรภาพสูง สามารถตอบโจทย์ผู้ป่วยที่ต้องการบำบัดด้วยออกซิเจนที่บ้านได้เป็นอย่างดี
หลักการทำงานของเครื่องผลิตออกซิเจนจะอาศัยแรงดันอัดอากาศปกติผ่านตัวกรองออกซิเจน (Molecular Sieve) เพื่อกักโมเลกุลของออกซิเจนไว้ ส่วนไนโตรเจนจะไหลผ่านไปได้ ทำให้ได้ออกซิเจนที่เข้มข้นขึ้นถึงประมาณ 90% เครื่องผลิตออกซิเจนในปัจจุบันสามารถให้ออกซิเจนที่อัตราไหลสูงถึง 10 ลิตร/นาที และ ยังมีเครื่องผลิตออกซิเจนอีกประเภทที่อาศัยแผ่นเยื่อที่มีคุณสมบัติเป็น Semipermeable ซึ่งจะยอมให่โมเลกุลของออกซิเจน และ น้ำผ่านได้เท่านั้น เครื่องผลิตออกซิเจนประเภทนี้จึงมีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่า และ ให้ออกซิเจนเข้มข้นน้อยกว่าที่ประมาณ 40% แต่ข้อดีก็คือมีน้ำหนักเบา ซึ่งสามารถผลิตเครื่องให้มีขนาดที่เล็กกว่า เป็นแบบชนิดพกพาได้
โดยปกติแล้วการใช้เครื่องผลิตออกซิเจนจะใช้เป็นส่วนเสริมเครื่อง CPAP ร่วมกันรักษาการหยุดหายใจขณะหลับ โรคถุงลมโป่งพอง โรคปอด และ โรคทางเดินหายใจอื่นๆ ในการเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนนั้น ก่อนอื่นจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเลือกซื้อ ว่าใครใช้ในปริมาณเท่าใด เพื่อความเหมาะสม และปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน
เครื่องผลิตออกซิเจน มีทั้งหมดกี่แบบ และ แต่ละแบบเหมาะกับการใช้งานแบบไหนบ้าง ?

1. เครื่องผลิตออกซิเจนที่ใช้งานภายในบ้าน
เครื่องผลิตออกซิเจนประเภทนี้จะมีขนาดกลาง - ใหญ่ แล้วแต่รุ่น นิยมใช้สำหรับผู้ป่วยที่ต้องพักรักษาตัวภายในบ้านจะมีหลายขนาด เริ่มตั้งแต่ 3 ลิตร/นาที ไปจนถึง 10 ลิตร/นาที ซึ่งลักษณะการใช้งานก็จะแตกต่างกันไป จะสรุปให้ทุกท่านได้อ่านในหัวข้อถัดไป
ว่า แต่ละขนาดเหมาะกว่าใคร ก่อนอื่นผมขอตอบคำถามยอดฮิตที่สำหรับผู้ที่เลือกซื้อไปใช้งานครั้งแรก มักจะสงส้ยและถามกันอยู่ประจำ

จะมีลูกค้าบางท่านมักจะถามกันเป็นประจำว่าเครื่องผลิตออกซิเจน 3 ลิตร กับ 5 ลิตร ต่างกันอย่างไร
3 ลิตร หมายถึงการปรับอัตราการไหลของออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายต่อนาทีเป็นจำนวนลิตร นั่นคือปรับได้สูงสุด 3 ลิตร ต่อนาที (1-3 ลิตร)
5 ลิตร หมายถึงการปรับอัตราการไหลของออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายต่อนาทีเป็นจำนวนลิตรนั่นคือปรับได้สูงสุด 5 ลิตร ต่อนาที (1-5 ลิตร)
นั่นหมายถึงว่าต่างกันที่การปรับอัตราการไหลได้สูงสุดต่อนาที่ ถ้าพูดภาษาบ้านๆก็คือ แรงลมของออกซิเจนที่ออกมานั่นเอง
อ่านมาถึงตรงนี้ก็พอจะเข้าใจหลักการกันบ้างแล้ว งั้นขอเข้าเรื่องว่าขนาดถิตร แต่ละรูปแบบเหมาะกับใครใครควรใช้ ใครไม่ควรใช้

(1.) เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด 3-6 ลิตร / นาที
เป็นขนาดที่นิยมใช้ในวงการแพทย์แพร่หลาย เนื่องจากผู้ป่วยที่ต้องกับไปพักรักษาตัวที่บ้าน ส่วนใหญ่มักนิยมให้ออกซิเจน ด้วยสาย Cannula
ซึ่งในทางการแพทย์จะกำหนดให้ใช้ได้ ไม่เกิน 6 ลิตร/นาที เนื่องจากหากเกินมากกว่านั้น โพรงจมูกจะอักเสพ และ อาจจะทำให้เลือกกำเดาไหลออกมาได้ ถือว่าเป็นอันตรายต่อการใช้งาน
สำหรับการให้ออกซิเจนในระดับ 0.5-6 ลิตร/นาที นั้นเหมาะกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ รวมไปถึงโรคอื่นๆ ที่มีปัญหาทางเดินหายใจ หอบเหนื่อย หายใจไม่สะดวก ก็ขึ้นอยู่กับว่าแพทย์สั่งว่าควรใช้ในปริมาณไหน แต่ให้จำไว้ว่า Cannula ใช้เครื่องสเปค 5 ลิตร/นาที ก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องซื้อ รุ่น 8-10 ลิตรให้เปลืองเงินในกระเป๋าเปล่าๆ แล้วหากผู้ป่วยต้องพ่นยาด้วย ต้องใช้ 8-10 ลิตรมั้ย? ก็ไม่จำเป็นที่ต้องใช้อยู่ดี เพราะเครื่องรุ่นใหม่ๆ มักจะมีฟังก์ชั้นพ่นยามาในตัวอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการจะซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนสักเครื่อง ถ้าผู้ป่วยต้องพ่นยาด้วย ก็ใช้เครื่อง 3 หรือ 5 ลิตร / นาที ได้ครับ หากเป็นการใช้งานแบบสาย Cannula
ปัจจุบัน เครื่องขนาดดังกล่าว ก็นิยมใช้กับคนทั่วไป (ไม่ได้ป่วย) แต่รู้สึกอ่อนเพลีย อันเนื่องมากจากสภาพอากาศ หรือ
พักผ่อนไม่เพียงพอ ออกซิเจนดรอป ก็สามารถให้ออกซิเจนได้เหมือนกัน โดยจะให้ในปริมาณเล็กน้อย และให้ระยะเวลาที่ไม่นาน เพื่อให้รู้สึกสดชื่น หรือสามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น

(2.) เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด 8-10 ลิตร / นาที
ซึ่งแบบดังกล่าวก็จะครอบคลุมขึ้นมาอีกขั้น สามารถใช้ผ่านสาย Cannula ในแบบเครื่อง 3-6 ลิตร/นาที ก็ได้ แต่ควรปรับไม่เกิน 6 ลิตร/นาที
ส่วนใหญ่มักจะซื้อไปใช้งานกับผู้ป่วยที่ต้องการความเข้มข้นของออกซิเจนสูง จะใช้ผ่าน หน้ากากแบบมีถุงลม (Mask With Bag)
ซึ่ง Mask With Bag จะไม่สามารถใช้งานเครื่องผลิตออกซิเจนที่ต่ำกว่า 8 ลิตรได้
ผู้ป่วยอีกประเภทที่นิยมนำไปใช้ คือผู้ป่วยเจาะคอ ที่ใช้ หน้ากากแบบครอบคอ (tracheostomy mask) แต่มีข้อยกเว้นว่าต้องเป็นการต่อกับกระปุกน้ำทำความชื้นแบบธรรมดา และไม่สามารถต่อกับกระปุกปรับ % ทำความชื้นได้ (ท่องวงช้าง)

(3.) เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด 8-10 ลิตร 20 psi ( แบบแรงดันสูง ) สำหรับผู้ป่วยเจาะคอ และ ผู้ป่วยทั่วไป
เครื่องลักษณะนี้ จะเป็นชนิดพิเศษกว่ารุ่นอื่นๆ เพราะสามารถใช้งานได้ครอบคลุมกับทุกประเภท และ ใช้งานกับอุปกรณ์ออกซิเจนได้ทุกรูปแบบ
แต่ที่นำไปใช้บ่อยๆ จะใช้กับผู้ป่วยที่เจาะคอ โดยใช้อุปกรณ์เป็นกระปุกแบบปรับ % ทำความขึ้นเพื่อละลายเสมหะที่เหนียวข้นของผู้ป่วยเจาะคอได้
เพราะเครื่องผลิตออกซิเจนแรงดันธรรมดา ขนาด 8-10 ลิตร/นาที นำไปต่อแล้วจะเกิดแรงต้านทำให้ ออกซิเจนที่ปล่อยออกมา ได้ไม่เกิน 5 ลิตร/นาที
ซึ่งไม่ตรงกับสเปคของเครื่อง และ อาจจะไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
บางท่านนำฟังก์ชั้นพ่นยามาอแดป ต่อร่วม ทำให้ปรับ Flow ขึ้นไปที่ 8-10 ลิตรได้
แต่หารู้ไม่ว่าการต่อในลักษณะดังกล่าว ทำให้ลมของช่องพ่นยาที่มีเพียงลมเปล่าๆ ไปผสมกับออกซิเจนบริสุทธิ์ในช่องออกซิเจน ทำให้ ออกซิเจนที่ส่งต่อไปถึงผู้ป่วย ความเข้มข้นดรอปลงอย่างมาก ซึ่งหากผู้ป่วยที่ต้องการออกซิเจนเข้มข้น ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ อาจจะทำให้เป็นอันตรายได้
ข้อสรุปของเครื่องที่ใช้งานภายในบ้าน
หากท่านที่จำเป็นต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจนเพื่อบำบัด ตามคำแนะนำของแพทย์ หรือ จะซื้อมาเพื่อสำรองไว้ยามฉุกเฉินก็ตามแต่
การใช้เครื่องผลิตออกซิเจนที่ใช้ภายในบ้านก็ถือเป็นอีกทางเลือกสำหรับท่าน แต่หากยังไม่แน่ใจว่าจำเป็นต้องใช้หรือป่าว แนะนำให้ปรีกษาแพทย์เบื้องต้น