
ออกซิเจน (Oxygen) หรือ O2 คืออะไร ?
ออกซิเจน (0xygen) คือ ก๊าซที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของทั้งพืช และ สัตว์ รวมถึงมนุษย์เราด้วย เพราะถ้าร่างกายขาดออกชิเจนเพียงไม่กี่นาทีก็เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ออกชิเจนเป็นธาตุที่สัญลักษณ์ คือ 0 มีเลขอะตอมเท่ากับ 8 มีความหนาแน่น 1.43 กรัม/ลิตร หนักกว่าอากาศเล็กน้อย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ และมีปริมาณเป็นอันดับ 2 ในส่วนประกอบของบรรยากาศโลก อากาศที่เราหายใจจะมีออกชิเจนประมาณ 21% รองมาจากก๊าซไนโตรเจนที่มีอยู่ประมาณ 78% ออกชิเจนนอกจากจะอยู่ในอากาศแล้วยังพบอยู่รวมกับธาตุชนิดอื่นๆ รอบตัวเราอีกด้วย เช่น น้ำ (H20) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (C02) ในสภาวะปกติออกซิเจนจะอยู่ในสถานะก๊าซ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติละลายน้ำได้ ไม่ติดไฟ แต่ทว่าออกชิเจนเป็นสารที่ช่วยให้ติดไฟ นั่นคือ ถ้าไม่มีออกซิเจนก็จะไม่สามารถติดไฟได้
ออกซิเจน เป็นธาตุที่สามารถอยู่ได้ทั้ง 3 สถานะ คือ
1. ก๊าซ ที่สภาวะปกติออกชีเจนจะอยู่ในสถานะก๊าช
2. ของเหลว ที่อุณหภูมิประมาณ -182.5 องศาเซลเซียส หรือ ต่ำกว่า ออกซิเจนจะเปลี่ยนสถานะจากก๊าซกลายเป็นของเหลวสีฟ้าอ่อน
3. ของแข็ง ที่อุณหภูมิ -218.4 องศาเซลเซียส หรือ ต่ำกว่า ออกซิเจนจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นของแข็งสีฟ้าอ่อน
ออกชิเจนที่อยู่ในอากาศเกิดจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ร่างกายคนเราจะใช้ก๊าซออกชิเจนในกระบวนต่างๆ ภายในร่างกาย รวมถึงการใช้ในกระบวนการเมตาบอลิซึมของเซลล์ เช่น กระบวนการเปลี่ยนแปลงอาหารให้เป็นพลังงาน กระบวนการรักษาเซลล์ การสังเคราะห์เอนไซม์หรือวิตามินที่ใช้ในร่างกาย ออกซิเจนจะเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจเข้าไปสู่ปอด เมื่อออกซิเจนเข้าสู่ปอดจะเกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซ เพื่อให้ก๊่ซออกซิเจนเข้าไปจับกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง และเดินทางเข้าสู่หัวใจ จากนั้น หัวใจจะส่งต่อเม็ดเลือดแดงที่เต็มไปด้วยออกชิเจนนี้ไปยังอวัยะต่างๆ เพื่อให้ออกชิเจนเข้าไปช่วยในกระบวนการเมตาบอสิซึมของเซลล์ตามอวัยวะต่างๆ และ รักษาให้เซลล์มีชีวิตอยู่ต่อไป เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ตับ เซลล์ไต เซลล์สมอง นอกจากนี้ออกซิเจนยังเป็นตัวที่สำคัญในการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ถ้าร่างกายเกิดภาวขาดออกชิเจน หรือ ได้รับออกชิเจนไม่เพียงพอ จะทำให้เซลล์ตายส่งผลให้อวัยวะตายตามไปด้วย